10 กฎที่ต้องรู้ ถ้าจะทำ “ที่จอดรถมอเตอร์ไซค์” ในอาคาร หรือสถานที่

ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้งานมอเตอร์ไซค์เยอะเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะตามเมืองหลวงที่การจราจรติดขัดเข้าขั้นสาหัส หากต้องการเดินทางอย่างรวดเร็วคงหนีไม่พ้นมอเตอร์ไซค์แน่ ด้วยเหตุนี้เราจึงมักเห็นว่าเกิดการสร้างที่จอดรถมอเตอร์ไซค์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอาคารสถานที่ต่าง ๆ ทว่าหากคุณคือคนหนึ่งที่กำลังจะสร้างที่จอดรถมอเตอร์ไซค์เหมือนกัน ร้านไทยจราจร จะมาบอกถึง 10 กฎที่ต้องรู้หากคิดทำที่จอดรถมอเตอร์ไซค์เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาต่าง ๆ ตามมาทีหลัง รับรองเลยว่ากฎทุกข้อมีความจำเป็นอย่างมาก 

1.ขนาดของช่องจอดและทางวิ่งของมอเตอร์ไซค์ – เริ่มต้นด้วยขนาดของช่องจอดมอเตอร์ไซค์ที่ถูกต้องควรมีขนาด 1 x 2 m. เพราะจะทำให้พอดีกับการคันมอเตอร์ไซค์ ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป อีกทั้งเวลาลงจากรถก็ไม่เบียดกับมอเตอร์ไซค์คันอื่นด้วย ส่วนขนาดของทางวิ่งมอเตอร์ไซค์ในลานจอดรถควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.5 m. เพื่อให้วิ่งได้อย่างสะดวกและไม่เกิดปัญหาหรืออุบัติเหตุใด ๆ 

2.มีการเผื่อระยะทางสำหรับตีวงเลี้ยวด้วย – สำหรับการสร้างที่จอดรถมอเตอร์ไซค์สิ่งสำคัญมาก ๆ คือ ต้องทำระยะทางเผื่อสำหรับการตีวงเลี้ยวเอาไว้ด้วย พื้นฐานที่ต้องเข้าใจคือรถมอเตอร์ไซค์ไม่สามารถเลี้ยวแบบหักศอกได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตีวงให้เหมาะสมยิ่งเป็นที่จอดรถมีหลาย ๆ ชั้น หากไม่มีการทำระยะเผื่อเอาไว้ โอกาสเกิดอันตรายมีสูงมากทีเดียว

3.กะปริมาณพื้นที่ของมอเตอร์ไซค์ให้เพียงพอ – พยายามกะพื้นที่ของช่องจอดรถมอเตอร์ไซค์ให้เพียงพอเนื่องจากการจอดมอเตอร์ไซค์ซ้อนคันโอกาสที่รถจะโดนขโมยมีสูงด้วยไม่สามารถล็อกคอเอาไว้ได้ ทั้งนี้ก็ควรทำพื้นที่จอดให้กว้างเผื่อการจอดซ้อนคันไว้ด้วยกรณีคนมาจอดเยอะและช่องจอดไม่เพียงพอต่อการใช้งาน

4.มี ป้ายจราจร บอกชัดเจน – การมี ป้ายจราจร บอกเส้นทางต่าง ๆ จะช่วยให้ผู้ขับขี่เองรู้ว่าที่จอดอยู่ตรงไหน, ใช้ความเร็วเท่าไหร่ รวมถึงคนที่ยังไม่ชินเส้นทางในสถานที่จอดรถนั้น ๆ จะได้รู้ว่าทางข้างหน้าต้องขับอย่างไร เป็นการช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัวเพราะความไม่รู้ของคนขับ

5.แสงสว่างต้องเพียงพอ – หากคุณทำที่จอดรถมอเตอร์ไซค์บนตึกที่มืดทึบ ระบบแสงสว่างคือเรื่องสำคัญที่ต้องมีติดตั้งไว้ตลอดเส้นทางเนื่องจากโอกาสเกิดอันตรายกับผู้ขับขี่มีสูงมาก ดังนั้นการมีแสงสว่างจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวลงได้ อีกทั้งจะจอดรถดึกขนาดไหนก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับคนใช้มอเตอร์ไซค์เลยแม้แต่น้อย 

6.แยกทางเข้าออกจากรถยนต์ดีกว่า – เรามักเห็นว่าหลาย ๆ ที่มักแยกช่องทางเข้าออกระหว่างมอเตอร์ไซค์กับรถยนต์ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้ง ไม้กระดกอัตโนมัติ แยกกัน, เจ้าหน้าที่จ่ายบัตรแยกกัน นั่นเพราะจะได้ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องการจราจรติดขัดหากต้องเข้ามาจอดพร้อม ๆ กันทั้งรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ อีกทั้งช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุลงด้วย

7.หากทางขึ้นลงสวนกัน อย่าลืมติดกระจกไว้ด้วย – กรณีทำที่จอดรถมอเตอร์ไซค์บนอาคารที่ต้องมีทางขึ้นลงสวนกันอย่าลืมติดตั้ง กระจกโค้งจราจร เอาไว้ด้วย เพราะเวลาขับสวนทางกันในช่วงทางโค้งแล้วมองไม่เห็นว่ามีรถสวนทางมาโอกาสจะเกิดอันตรายมีสูงมาก แต่ถ้ามีกระจกเราก็มองเห็นรถฝั่งตรงข้ามจากนั้นจึงค่อย ๆ ชะลอ ความปลอดภัยย่อมมีมากกว่าเยอะ

8.ขอบกั้นควรมีความสูงในระดับเหมาะสม – ต้องเข้าใจว่าเวลาขั้นไปบนชั้นสูง ๆ รถมอเตอร์ไซค์จะสัมผัสกับลมโดยตรงดังนั้นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตราย เช่น รถเสียหลักพลัดตกลงมามีสูงมาก เมื่อเป็นเช่นนี้หากใครทำที่จอดรถมอเตอร์ไซค์เอาไว้ชั้นบน ๆ ต้องมีการทำขอบกั้นให้สูงเอาไว้ด้วย เพราะจะช่วยกันลมไม่ให้เข้ามาปะทะกับผู้ขับขี่แบบเต็ม ๆ แล้วเกิดอันตรายต่าง ๆ ตามมาภายหลัง มันไม่คุ้มกับสิ่งที่เกิดขึ้นเลยแม้แต่น้อย

9.ทำช่องทางเดินเฉพาะเมื่อจอดเรียบร้อยแล้ว – กฎข้อนี้เป็นอีกสิ่งที่หลายคนหลงลืมหากคิดจะทำที่จอดรถมอเตอร์ไซค์ เวลาที่เราจอดเรียบร้อยเคยสังเกตหรือไม่ว่าหากเราไปเดินตามทางที่รถคันอื่นขับเข้ามาเพื่อมาจอด จะเกะกะมาก บางทีก็โดนเหยียบเท้าหรือตัวโดนกระแทก ฯลฯ นั่นเกิดจากผู้ที่ทำลืมไปว่าควรสร้างช่องทางเดินเฉพาะด้วย เมื่อคุณสร้างช่องทางเดินเฉพาะความปลอดภัยตรงนี้ก็เกิดขึ้น ไม่มีใครเสี่ยงได้รับบาดเจ็บ

10.แยกรถขนาดใหญ่เอาไว้ต่างหาก – กฎข้อนี้เป็นสิ่งที่เหมือนเกิดได้ไม่นานในยุคบ้านเรานิยมการขับบิ๊กไบค์ เหตุผลที่ต้องแยกเอาไว้ต่างหากนั่นเพราะขนาดของรถที่ใหญ่กว่าทำให้ช่องจอดก็ต้องใหญ่กว่า แถมด้วยรถมีราคาแพงการจอดรวมกับมอเตอร์ไซค์คันอื่น ๆ อาจทำให้เกิดปัญหา เช่น การเสียดสี, โดนกระแทก ฯลฯ ดังนั้นเมื่อแยกที่จอดออกจากกันจะช่วยให้ดูแลง่ายมากขึ้น

ใครที่คิดจะสร้างที่จอดรถม0อเตอร์ไซค์ในอาคารสถานที่ทั้งที่อย่าลืมเอากฎที่ ร้านไทยจราจร บอกไว้ไปใช้ด้วย รับรองว่าคุณจะได้ที่จอดรถมอเตอร์ไซค์ดี ๆ ออกมาแน่นอนแถมยังปลอดภัยไร้กังวลอีกด้วย 

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น