แจกบทความฟรี
คอนโด smart home คืออะไร ตอบโจทย์ผู้สูงอายุยุคใหม่อย่างไร
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ประชากรบางส่วนจึงเลือกปรับปรุงที่อยู่อาศัย หรือย้ายไปยังสถานที่ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ช่วยให้การใช้ชีวิตบั้นปลายไม่ต้องพึ่งพาบุตรหลานเกินความจำเป็น เช่น บ้านพักคนชรา โดยมีบริการช่วยเหลือโดยแพทย์พยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง และมีกิจกรรมชมรมต่าง ๆ ภายในบ้านพัก ทำร่วมกับผู้สูงอายุคนอื่น ๆ ได้แก่ ออกกำลังกาย เล่นเกม หรือพูดคุยกันเพื่อคลายเหงา แต่ก็มีผู้สูงอายุบางกลุ่มที่คุ้นชินกับการอาศัยอยู่ในอาคารสูง
ไม่ต้องการย้ายออกไปสถานที่อื่น จึงมีบริการ smart home ด้วยรูปแบบ smart condo เพื่อรองรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณแบบคนโสด หรือมีบุตรหลานมาแวะเวียนช่วยดูแล เจ้าของธุรกิจอสังหาฯ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้และต้องตามกระแสในอนาคต ด้วยการออกแบบที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับเทรนด์ และมาดูกันว่า smart home มีลักษณะอย่างไร ตอบโจทย์ชีวิตผู้สูงอายุรุ่นใหม่ให้มีความปลอดภัยอย่างไรบ้าง
เทคโนโลยี Smart home กับการสอดส่องความปลอดภัยด้วย กล้องวงจรปิด
Smart home เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ IOT (internet of things) มาประยุกต์กับการพักอาศัย โดยมีหัวใจคือ ทำอย่างไรให้ในที่อยู่อาศัย มีความสะดวกสบาย รวดเร็ว โดยแทบไม่ต้องเดินไปทำอะไร เช่น หลอดไฟที่สามารถเปิดได้เองหลังมีคนเข้ามาในบ้าน หรือเทคโนโลยีอย่าง Home Monitoring ที่ช่วยดูแลผู้สูงอายุด้วยกล้องวงจรปิด หากครอบครัวใดมีบุตรหลานที่ต้องออกไปทำงานในตอนกลางวัน และในช่วงเวลานี้จำเป็นต้องให้ผู้สูงอายุอยู่คอนโดเพียงคนเดียวในห้อง แล้วเกิดเป็นห่วงว่าผู้สูงอายุปลอดภัยหรือไม่ โดย Home Monitoring ได้เข้ามามีบทบาทให้บุตรหลานนอกบ้านสามารถรับรู้สถานการณ์ภายในบ้าน ด้วยการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตระหว่างกล้องวงจรปิดและมือถือ ให้สามารถรับสัญญาณภาพที่ส่งมาจากห้องได้ว่า ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มหรือบาดเจ็บอยู่หรือไม่ เทคโนโลยีนี้จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับการจ้างคนดูแลผู้สูงอายุได้
ระบบ Home Monitoring ยังถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการรักษาโรคโควิด – 19 ซึ่งแพทย์ไม่สามารถเข้าไปดูอาการของคนไข้ได้ จึงติดตั้ง กล้องวงจรปิด และใช้การพูดคุยกับแพทย์ผ่านไมโครโฟน ซึ่งในกรณีธุรกิจคอนโดผู้สูงอายุ ลูกบ้านส่วนมากเป็นกลุ่มคนมีฐานะ แต่อยู่ตัวคนเดียวไม่มีลูกหลานคอยดูแล จำเป็นต้องใช้แพทย์และพยาบาลเป็นพิเศษ กล้องวงจรปิดจะช่วยลดภาระงานของแพทย์ ด้วยการดูแลคนไข้ทางระยะไกล ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Telemedicine เหมือนกับการรักษาโรคโควิด – 19 เช่น เฝ้าระวังโรคอันตรายเฉียบพลันอย่าง โรคหัวใจ รักษาอาการของโรคเบาหวาน หรือระวังการหกล้ม ระหว่างผู้สูงอายุลุกจากเตียงโดยมีเสียงเตือนจาก monitor และกล้องวงจรปิดควรติดตั้งอยู่ในจุดที่เหมาะสม สามารถสังเกตอิริยาบถของผู้สูงอายุได้อย่างชัดเจน เห็นภาพได้ดีในเวลากลางคืน และเป็นกล้องวงจรปิดอัจฉริยะแบบไร้สายยิ่งดีมาก ถ้าเลือกใช้งานเป็นกล้องมีสาย ต้องใช้ช่างติดตั้งให้ หรือเมื่อเปลี่ยนจุดตั้งกล้องต้องเสียเวลาเดินสายใหม่ ผู้สูงอายุต้องการพักผ่อน ไม่ชอบมีเสียงรบกวนจากบุคคลภายนอก
อย่างไรก็ตามควรหารือกับผู้สูงอายุให้ชัดเจนว่าบริเวณใดไม่ควรติดตั้ง เพราะแม้อายุมากก็ยังต้องการพื้นที่ส่วนตัว หรืออาจใช้งานกล้องวงจรปิดที่ไม่บันทึกภาพ เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวก็ได้เช่นกัน
อุปกรณ์ Detector ต่าง ๆ ช่วยป้องกันอันตรายยามฉุกเฉิน
เมื่อผู้สูงอายุอยู่คอนโดเพียงลำพัง ย่อมมีความเสี่ยงที่อุบัติเหตุต่าง ๆ อาจเกิดขึ้น เช่น อัคคีภัย หรือแก๊สระเบิด อาคารที่อยู่อาศัยแบบ Smart home จะมีอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันภัยชนิดพื้นฐาน ได้แก่ อุปกรณ์ตรวจจับควัน และ Gas Detector โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ชื่นชอบทำอาหาร หน้าที่ของ Smoke Detector คือ ตรวจจับควันไฟ และแจ้งเตือนไปยังตู้ควบคุม ซึ่งจะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยทราบแต่เนิ่น ๆ ว่ามีโอกาสเกิดไฟไหม้ สามารถหลบหนีออกจากอาคารได้ทัน
โดยตัวตรวจจับควันมีอยู่ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ ionization, photoelectric และระบบผสมผสาน (dual) ประเภทแรก “ionization” มีข้อดีคือ สามารถตรวจจับอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากกว่า 1 ไมครอน จากการเผาไหม้หมดจด แต่ข้อด้อยคือการตรวจจับอนุภาคขนาดใหญ่ หากมีฝุ่นและแมลงหลุดเข้าไปอาจทำให้เกิดความผิดพลาด ส่วนประเภท photoelectric เหมาะกับการตรวจจับควันในพื้นที่อับ และควันที่เผาไหม้อย่างช้า ๆ
อย่างไรก็ตามทั้ง 3 ประเภทเหมาะกับการติดตั้งภายในอาคารอยู่แล้ว เพียงแต่ควรหมั่นตรวจสภาพของเครื่องตรวจจับควันว่ายังสามารถใช้งานได้หรือไม่เพราะมีคอนโดจำนวนไม่น้อยที่อุปกรณ์ตรวจจับไม่มีประสิทธิภาพ แบตเตอรี่เสื่อมสภาพแล้วแต่ยังใช้งานอยู่และการติดตั้งไม่เหมาะสมกับตำแหน่งตรวจจับเพลิงไหม้ เช่น ติดตั้งริมระเบียงหน้าต่างของห้องพักแต่เพลิงไหม้เกิดบริเวณประตูจากมิเตอร์ไฟระเบิด จึงควรย้ายตัวตรวจจับควันมาติดตั้งตรงกลางของห้อง เพื่อสามารถตรวจจับควันได้ทุกจุด หรือตรวจให้แน่ใจว่าภายในห้องของผู้สูงอายุมีอากาศถ่ายเทเพียงพอให้ลมพัดควันมายังจุดของ Smoke Detector
อุปกรณ์ชนิดที่ 2 คือ Gas Detector ตรวจจับแก๊สรั่ว มีคุณสมบัติตรวจจับแก๊สรั่ว แต่ตรวจจับแก๊สได้หลัก ๆ ได้เพียง 4 ชนิดคือ 1.แก๊สที่ติดไฟ 2.แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ 3.แก๊สไข่เน่า 4.แก๊สออกซิเจน
หากต้องการตรวจจับแก๊สมากกว่า 4 รูปแบบ อาจต้องซื้ออุปกรณ์ตรวจจับแก๊สรั่วในราคาสูงขึ้น ส่วนวิธีเตือนและระดับเสียงของอุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส อย่างน้อยควรมี
- เสียงแจ้งเตือนดังระดับ 90 เดซิเบล
- มีแสงไฟแจ้งเตือนว่ามีแก๊สรั่ว
- ส่งสัญญาณด้วยความรวดเร็วหลังพบแก๊ส
- ลักษณะภายนอก ควรมีน้ำหนักเบา
- ใช้งานได้คงทน
- ความแม่นยำในการตรวจจับควรอยู่ในระดับ 95% ของนัยสำคัญ
ซึ่งทั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันและตรวจจับแก๊สรั่ว ควรมีเทคโนโลยีเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน เพื่อแสดงการแจ้งเตือนผ่านมือถือว่ามีควันและแก๊สรั่วได้ จะได้ช่วยเหลือผู้สูงอายุระหว่างการพักผ่อนได้ทันเวลา
Smart home ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกไปไม่ได้
อุปกรณ์ที่ช่วยให้การใช้ชีวิตบนคอนโดของผู้สูงอายุมีความสะดวกสบาย เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน เพราะคนวัยเกษียณจะลุกหรือเดินก็ไม่ง่ายเหมือนวัยหนุ่มสาว หากมีอุปกรณ์อย่าง Digital Door lock และ หลอดไฟอัจฉริยะ ก็ทำให้การใช้ชีวิตบนที่สูงง่ายขึ้นไม่น้อย โดย digital doorlock มีลักษณะเป็นประตูไร้กลอน เหมาะสำหรับช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืมบ่อย ๆ เพราะมีการใส่รหัสผ่าน คีย์การ์ด และสแกนนิ้วมือ แม้ว่าจะลืมรหัสผ่าน และทำคีย์การ์ดหาย ก็เพียงนำนิ้วมือมาสแกนที่ประตูก็เข้าห้องได้ แถมยังมีระบบแจ้งเตือนหากมีคนกำลังมางัดประตูด้วย
ในกรณีที่กังวลว่าลายนิ้วมือเลือนรางตามอายุที่เพิ่มขึ้น ระบบ fingerscan ยังคงจดจำ และยังเข้าห้องได้ตามปกติ นอกจากนี้ digital doorlock ยังสามารถทำงานร่วมกับหลอดไฟภายในห้อง เนื่องจากมีระบบเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว เมื่อเริ่มเปิดประตู เซนเซอร์จะแสดงผลให้ หลอดไฟอัจฉริยะ เริ่มทำงาน ซึ่งลักษณะของหลอดไฟชนิดนี้คือเป็นหลอดไฟ LED ใช้ขั้วมาตรฐาน E27 เหมือนกับหลอดไฟทั่วไปตามท้องตลาด สามารถซื้อแล้วเปลี่ยนมาใส่ได้ไม่ยาก และผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าจะให้หลอดไฟเปิด-ปิดแบบอัตโนมัติ หลังใช้งานประตู digital doorlock หรือเปิดด้วยแอปพลิเคชันผ่านสมาร์ทโฟน
ทั้งนี้หลอดไฟมีคุณสมบัติปรับแสง สี รวมทั้งเวลาเปิดปิดตามที่ต้องการ เนื่องจากหลอดไฟอัจฉริยะช่วยให้การทำกิจกรรมในแต่ละช่วงเวลาทำได้อย่างเหมาะสม เช่น ดูหนัง หรืออ่านหนังสือ ไม่ต้องกังวลว่าแสงสว่างจ้าจนกระทบต่อดวงตาผู้สูงอายุ และสร้างบรรยากาศภายในบ้านให้มีความน่าอยู่กว่าเดิม ด้วยการปรับเฉดสีของหลอดไฟ หากไม่สะดวกควบคุมผ่านโทรศัพท์ อาจใช้คำสั่งด้วยฟีเจอร์ voice control จากคำสั่งเสียง Alexa และ Google Assistance ทำให้ผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องเสียเวลาลุก-เดินไปเปิด-ปิดหลอดไฟเองซึ่งเสี่ยงต่อการหกล้มหรือชนขอบโต๊ะได้ และหลอดไฟอัจฉริยะมีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไฟปกติ ทั้งนี้ข้อจำกัดของหลอดไฟอัจฉริยะคือ แต่ละแบรนด์มีคุณสมบัติในการควบคุมแตกต่างกันออกไป บางยี่ห้อรองรับกับโทรศัพท์มือถือ iOS เท่านั้น จึงควรศึกษาเพิ่มเติมในเงื่อนไขต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจใช้งาน
กล้องวงจรปิด อุปกรณ์ตรวจจับควันและแก๊ส, digital doorlock และ หลอดไฟอัจฉริยะ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้สามารถปรับให้คอนโดธรรมดา ๆ กลายเป็นคอนโดอัจฉริยะ จากการเข้ามาของ internet of things ช่วยให้ชีวิตหลังเกษียณของผู้สูงอายุสะดวกสบายและมีความปลอดภัย ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์อาจปรับปรุงที่พักอาศัยให้เป็น smart home เพิ่มมูลค่าในอนาคตด้วยอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่ง SMART Traffic & Safety ได้มีอุปกรณ์ต่าง ๆ รองรับการมาของสังคมผู้สูงอายุ ตอบสนองทั้งเจ้าของโครงการอสังหาฯ และผู้อยู่อาศัย พร้อมมีแพ็กเกจ “ดูแลผู้สูงวัย” มาพร้อมกับปุ่มช่วยเหลือ SoS และบริการติดตั้งที่ช่วยให้การใช้เทคโนโลยีพร้อมกับการพักอาศัยเป็นเรื่องง่าย ใช้งานไม่ยุ่งยาก และยังมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอย่าง กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ เป็นต้น สามารถดูรายละเอียดสินค้าและบริการเพิ่มเติมได้ที่ SMART Traffic & Safety เว็บไซต์ www.smartsafetyservice.com