แจกบทความฟรี
หลักการทำงานของ บ้านอัจฉริยะ กับอุปกรณ์ต่าง ๆ
ภายหลังจากการเข้ามาของอินเทอร์เน็ต สิ่งของเครื่องใช้หลายอย่างในชีวิตประจำวันดูทันสมัยและมีความสามารถมากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ผ่านระบบเน็ตเวิร์ค มีการใช้งานที่ง่ายขึ้นและไม่ซับซ้อน เนื่องจากผู้ผลิตมีการพัฒนา ปรับปรุง และนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ เช่น Internet Of Things หรือที่หลายคนรู้จักในนามของ IoT เพื่อให้ชีวิตและความเป็นอยู่ในบ้านมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น จนนำมาซึ่งการคิดและออกแบบระบบ บ้านอัจฉริยะ ในปัจจุบัน
บ้านอัจฉริยะ คือ อะไร
บ้านอัจฉริยะ หรือ smart home คือระบบควบคุมการใช้งานภายในบ้านโดยนำเอาเทคโนโลยี IoT มาประยุกต์ใช้ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ทั้งหมดสามารถเชื่อมต่อถึงกันและควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือเพียงเครื่องเดียว ไม่ว่าจะเป็นทีวี ตู้เย็น หลอดไฟ เครื่องปรับอากาศ กล้องวงจรปิด หรือ Motion Sensor ต่าง ๆ ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เปลี่ยนบ้านเก่า ให้เป็นบ้านสมาร์ทโฮม ได้หรือไม่?
หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเทคโนโลยีบ้าน smart home จะมีเฉพาะบ้านใหม่ ๆ เท่านั้น หารู้ไม่ว่าบ้านเก่าก็สามารถที่จะปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เป็นบ้านสมาร์ทโฮมได้ไม่ยาก ด้วยเทคโนโลยี SMART GATEWAY และรีโมทอัจฉริยะ เพียงแค่บ้านคุณได้รับการติดตั้งอินเทอร์เน็ตและมีเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่สามารถเชื่อมต่อ Wifi ได้ เพียงเท่านี้ก็สามารถควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้านได้แล้ว
มูลค่าการตลาดของบ้าน smart home และการเติบโตในอนาคต
ในปี 2021 ที่ผ่านมามีข้อมูลจาก Hootsuite ได้รายงานสถิติผู้ใช้งานดิจิทัลในประเทศไทยในปี 2021 ใจความว่า มูลค่าตลาดของอุปกรณ์บ้านอัจฉริยะของไทยประมาณ 69 ล้านดอลลาร์ โดยอัตราการเติบโตจากปี 2019 ถึง 43.3% ในขณะที่มีการใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวผ่านอินเทอร์เน็ตเพียง 5% เท่านั้น
ทำให้เห็นว่าหลายครัวเรือนแม้จะสามารถซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทสมาร์ทโฮมได้ แต่การใช้งานส่วนใหญ่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพราะเน้นใช้เพียงแค่ภายในบ้านและไม่มีการเชื่อมต่อและควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน ในขณะที่มีรายงานจาก The Battle for the Smart Home ของ A.T. Kearney คาดการณ์ว่าในปี 2025 ตลาดสินค้าประเภทสมาร์ทโฮมจะมีมูลค่าถึง 263,000 ล้านดอลลาร์
ประเภทของอุปกรณ์สมาร์ทโฮมในปัจจุบัน
มีการจำแนกและแยกประเภทของอุปกรณ์สมาร์ทโฮมที่ใช้ในปัจจุบัน ดังนี้
1.Security Management ระบบความปลอดภัย
ระบบความปลอดภัย ของบ้านอัจฉริยะ เดิมทีอาจจำกัดแค่เพียงกล้องวงจรปิดเท่านั้นที่สามารถเชื่อมต่อและดูสถานการณ์ต่าง ๆ ภายในบ้านผ่านระบบอินเทอร์เน็ต แต่ด้วยเทคโนโลยีที่มีการพัฒนามากยิ่งขึ้น ทำให้มีการขยายผลไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ ให้สามารถเชื่อมต่อผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้น
2.Energy and Resource ระบบจัดการพลังงาน
เป็นอีกหนึ่งระบบที่ได้รับการตอบรับจากบรรดาผู้ใช้งานบ้านอัจฉริยะจำนวนมาก โดยเฉพาะเวลาที่อยู่นอกบ้านสามารถที่จะสั่งปิด-เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือหลอดไฟภายในบ้านได้ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าและเวลาที่ต้องกลับมาปิดไฟที่บ้านในกรณีที่ลืมปิดนั่นเอง
3.Convenience and Comfort อุปกรณ์เพื่อความสะดวกสบายให้เจ้าของบ้าน
สำหรับอุปกรณ์ที่เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่เจ้าของบ้านนั้น คาดว่าในอนาคตจะมีมูลค่าตลาดที่เพิ่มสูงมากขึ้น โดยในปี 2025 อาจมีมูลค่าถึง 130,900 ล้านดอลล่าร์ เพราะสามารถสร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งานนั่นเอง
4.Health and Wellness ระบบจัดการเพื่อสุขภาพ
เป็นหนึ่งในหลาย ๆ อุปกรณ์ที่จะเข้ามาช่วยดูแลสุขภาพของผู้ใช้งานและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็นได้จาก Smart Watch ที่ช่วยในการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดัน ค่าออกซิเจนและอื่น ๆ เพื่อรายงานและประเมินผลสุขภาพของผู้ใช้งาน
5.Media Entertainment สื่อและความบันเทิง
กำลังเป็นที่จับตามองของบริษัทยักษ์ใหญ่หลาย ๆ แห่ง เกี่ยวกับทิศทางในการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในอนาคตมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงต่าง ๆ ไม่เพียงแต่จะต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้เท่านั้น แต่ต้องเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันเพื่อความบันเทิงต่าง ๆ ได้และตอบสนองต่อความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการสั่งงานด้วยระบบเสียงให้ลำโพงเล่นเพลงผ่านสื่อออนไลน์ได้ เป็นต้น
แนะนำอุปกรณ์สมาร์ทโฮม เพื่อบ้านที่ทันสมัย
จุดเริ่มต้นของอุปกรณ์สมาร์ทโฮมมาจากระบบ กล้องวงจรปิด ที่ในอดีตแม้จะมีกล้องวงจรปิดติดตั้งภายในบ้าน แต่ถ้าหากมีคนร้ายเข้าไปขโมยของภายในบ้านและเห็นอุปกรณ์ดังกล่าวแล้วขโมยไปด้วย ก็จะทำให้ไม่มีหลักฐานในการเอาผิดหรือติดตามคนร้ายได้ จึงมีแนวคิดให้ DVR (กล่องควบคุม กล้องวงจรปิด และบันทึกภาพ) ให้สามารถเชื่อมแต่และใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตแต่กระนั้นก็ยังไม่ตอบโจทย์และการใช้งาน จึงมีการพัฒนากล้องวงจรปิดใหม่แบบไร้สาย หรือแบบมีสาย แต่แยกอิสระในการบันทึกข้อมูล สามารถที่จะจัดเก็บวีดีโอหรือภาพที่บันทึกลงในเมมโมรีการ์ด หรือ cloud ได้
แม้กล้องอาจโดนทำลายเพื่อทำลายหลักฐาน หลังจากนั้นจึงมีอุปกรณ์สมาร์ทโฮมออกมามากมาย แต่อุปกรณ์เหล่านั้นจะมีแอปพลิเคชัน หรือโปรแกรมสำหรับควบคุมของแต่ละยี่ห้อแตกต่างไป ทำให้การควบคุมและใช้งานยุ่งยากและลำบากกว่าเดิม เพราะต้องคอยโหลดแอปพลิเคชันที่ใช้ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกเครื่อง ซึ่งไม่ตอบโจทย์ในการใช้งาน จึงมีการคิดค้นอุปกรณ์ควบคุมสมาร์ทโฮมออกมา โดยอุปกรณ์ กล้องวงจรปิด และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกอย่างภายในบ้านจะต้องทำงานผ่าน Smart Gateway เพื่อง่ายต่อการควบคุมและใช้งานมากยิ่งขึ้น
- Smart Gateway
ตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์สมาร์ทโฮม ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ททีวี สมาร์ทตู้เย็น กล้องวงจรปิด หลอดไฟ ปลั๊กไฟอัจฉริยะ Motion Sensor และอื่น ๆ เพียงเชื่อมต่อผ่าน Smart Gateway ก็สามารถใช้มือถือสมร์ทโฟนควบคุมผ่านแอปพลิเคชันได้ง่าย ๆ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถที่จะรองรับการใช้งาน Device ต่าง ๆ ได้มากถึง 50 ชิ้น จึงสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน
- Smart Remote Control
เป็นอุปกรณ์ในการสั่งการเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่เป็นสมาร์ทโฮม โดยทำงานร่วมกันกับ Smart Gateway ประหยัด ปลอดภัย เพราะไม่ต้องใช้ถ่าน เพียงเสียบสายชาร์จทิ้งไว้ก็สามารถใช้งานได้เลย สามารถสั่งการแทนรีโมทเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นรีโมททีวี เครื่องเสียง เครื่องปรับอากาศ พัดลม สร้างความสะดวกสบาย ไม่ต้องหารีโมทให้ยุ่งยากอีกต่อไป มาพร้อมความสามารถพิเศษในการตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ดังกล่าวผ่านแอปพลิเคชันได้
- ระบบความปลอดภัย อัจฉริยะ
ระบบเตือนภัยอัจฉริยะได้รับการปรับปรุงจากระบบเดิมที่เป็นแบบ Off line ให้สามารถ On line ได้พร้อมกับดูสถานะในรูปแบบ Real Time ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประกอบไปด้วย
1.Smoke Detector
อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ ใช้สำหรับตรวจจับควันไฟภายในอาคาร หากพบกลุ่มควันไฟจะทำการแจ้งเตือนไปยังกล่องควบคุม พร้อมกับแอปพลิเคชันบนมือถือให้เจ้าของบ้านได้รับทราบ เพื่อที่จะระงับเหตุ หรือหาทางป้องกันการลุกลามไฟที่กำลังก่อตัว หากได้ทำงานร่วมกับ Heat Detector หรือที่ตรวจวัดอุณหภูมิ ก็จะทำให้การตรวจจับมีความแม่นยำสูง เพราะหลายครั้งที่ Smoke Detector ส่งสัญญาณ error เนื่องจากพบผู้พักอาศัยจุดธูปไหว้พระ หรือการสูบบุหรี่ภายในอาคาร
2.Gas Detector
อุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส หรือก๊าซรั่วไหล โดยมีหลักในการทำงานคือการวัดความเข้มข้นหรือความหนาแน่นของก๊าซออกซิเจนในบริเวณดังกล่าว หากพบว่ามีปริมาณต่ำลงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด ก็จะส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปยังตู้ควบคุมก่อนจะมีสัญญาณไซเรนดังขึ้น เพื่อแจ้งเตือนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่ เพราะหากเข้าไปในพื้นที่ที่มีออกซิเจนปริมาณต่ำ อาจทำให้หมดสติได้ รวมถึงการก่อให้เกิดประกายไฟต่าง ๆ
3.ปุ่มกดขอความช่วยเหลือ
เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการออกแบบมาใช้ขอความช่วยเหลือในกรณีที่มีผู้ไม่ประสงค์เข้าประชิดตัว หรือแจ้งเหตุการณ์ในขณะนั้น เพื่อให้ผู้ที่สัญจรไปมาได้รับรู้เพื่อเข้าช่วยเหลือหรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.ระบบประตูอัจฉริยะ
หนึ่งในอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมจากโรงแรม คอนโดและรีสอร์ตสุดหรูที่สามารถตอบโจทย์ความปลอดภัย ควบคุมการทำงานด้วยรหัสผ่าน หรือ face detect หากไม่มีรหัสผ่าน หรือใบหน้าไม่ตรงกับที่บันทึกค่าไว้ จะไม่สามารถเปิดประตูได้
5.เซนเซอร์อัจฉริยะ
เดิมที่ระบบกันขโมยจะใช้วิธีในการเดินสายไฟ สายสัญญาณที่ยุ่งยาก แต่ปัจจุบันใช้เซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว ติดไว้บริเวณหน้าต่าง ขอบประตู ก็สามารถแจ้งเตือนผู้บุกรุกได้แล้ว โดยการทำงานจะอาศัย Motion Sensor คอยตรวจจับความเคลื่อนไหว สามารถที่จะสั่งการและยกเลิกการทำงานผ่านแอปพลิเคชันมือถือได้
6.ปลั๊กไฟอัจฉริยะ
เปลี่ยนบ้านเก่าให้เป็น บ้านอัจฉริยะ ด้วยปลั๊กไฟสุดไฮเทคนี้ เพียงนำเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นเก่ามาเสียบปลั๊กไฟอัจฉริยะ ก็สามารถที่จะควบคุมการเปิด-ปิด ผ่านแอปพลิเคชันได้ไม่ยาก
จะเห็นว่าอุปกรณ์สำหรับบ้าน smart home แม้จะมีแอปพลิเคชันเฉพาะมาให้ หากมีหลายเครื่องก็จะมีหลายแอปพลิเคชัน แยกกันไปแต่ละแบรนด์ ทำให้มีปัญหาในการใช้งาน แต่ถ้าต้องการควบคุมการทำงานทุกอย่างภายในขั้นตอนเดียว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะมี Smart Gateway และ Smart Remote Control ที่ทำงานร่วมกันด้วยแอปพลิเคชันอันเดียว ตัดปัญหาการโหลดหลายแอปและที่สำคัญสามารถที่จะเปลี่ยนบ้านเก่าให้เป็นบ้านอัจฉริยะได้ไม่ยากอีกด้วย สำหรับใครที่สนใจระบบสมาร์ทโฮม สามารถเข้าไปดูรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.smartsafetyservice.com ศูนย์รวมอุปกรณ์ smart home สุดล้ำ พร้อมทีมงานมืออาชีพที่คอยให้คำปรึกษา พร้อมทีมงานมืออาชีพที่คอยให้บริการ